เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปาตุภาโว ได้แก่ การเกิดขึ้น คือ การสำเร็จ. บทว่า ทุลฺลโภ
โลกสฺมึ
ได้แก่ หาได้ยาก คือ หาได้โดยยากยิ่ง ในสัตวโลกนี้. ที่ชื่อว่า
หาได้ยาก เพราะเหตุไร ? เพราะพระองค์ไม่อาจบำเพ็ญทานบารมี
คราวเดียวแล้วได้เป็นพระพุทธเจ้า. อนึ่งพระองค์ไม่ทรงสามารถ
บำเพ็ญทานบารมี 2 ครั้ง 10 ครั้ง 20 ครั้ง 50 ครั้ง 100 ครั้ง
1,000 ครั้ง โกฏิครั้ง แสนโกฏิครั้ง ไม่ทรงสามารถบำเพ็ญทาน
บารมีได้ 1 วัน 2 วัน 10 วัน 20 วัน 50 วัน 100 วัน 1,000 วัน
100,000 วัน แสนโกฏิวัน ฯลฯ 1 เดือน 1 ปี 2 ปี ฯลฯ แสนโกฏิปี
1 กัป 2 กัป ฯลฯ แสนโกฏิกัป พระองค์ไม่สามารถบำเพ็ญทาน
บารมี 1 อสงไขย 2 อสงไขย 3 อสงไขย แห่งกัป แล้วเป็นพระ
พุทธเจ้าได้ แม้ในศีลบารมี เนกขัมมบารมี ฯลฯ อุเบกขาบารมี
ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ครั้งสุดท้าย พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี 10 สิ้น 4
อสงไขยกำไรแสนกัป แล้วจึงสามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้ ด้วยเหตุ
ดังกล่าวมานี้ พระองค์จึงชื่อ ว่าหาได้ยาก.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อจฺฉริยมนุสฺโส แปลว่า มนุษย์อัศจรรย์.

บทว่า อจฺฉริโย ความว่า ไม่มีเป็นนิตย์ เหมือนตาบอดขึ้น
ภูเขา. นัยแห่งศัพท์เท่านี้ก่อน แต่นัยแห่งอรรถกถาดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรแก่การปรบมือ. อธิบายว่า ควรปรบมือ
แล้วมอง.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มนุษย์อัศจรรย์ แม้เพราะประกอบ
ด้วยธรรมอันไม่เคยมี น่าอัศจรรย์หลายประการ มีอาทิอย่างนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันไม่เคยมีน่าอัศจรรย์ 4 ประการ ย่อมมี
ปรากฏ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ. ชื่อว่า
อัจฉริยมนุษย์ เพราะเป็นมนุษย์ที่เคยสั่งสมมาก็มี.
จริงอยู่ การที่พระองค์ทรงประชุมธรรม 8 ประการ อันจะ
ทำให้อภินีหารเพียบพร้อม แล้วทรงผูกพระมันสประทับนั่ง ณ
มหาโพธิมัณฑสถาน ต่อพระพักตร์ ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
ใคร ๆ อื่น มิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูโพธิสัตว์พระองค์เดียว
เท่านั้นสั่งสมมา. อนึ่งแม้การที่พระองค์ ได้รับพยากรณ์ในสำนัก
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่หวนกลับหลัง อธิษฐานความเพียร
แล้วบำเพ็ญพุทธการกธรรม ใคร ๆ อื่น มิได้เคยสั่งสมมาเลย พระ-
สัพพัญญูโพธิสัตว์เท่านั้น เคยสั่งสมมา. อนึ่งพระองค์ทรงบำเพ็ญ